ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา รี่, ลี่, ยี่, กี่, เจษฎา, ยา, เรียม, กะกร่อม, เกงเขง,เกงเคง, คี่, จ้น
เจษฎา
หมายถึง[เจดสะดา] น. ผู้เป็นใหญ่ที่สุด, พี่. (ป. เชฏฺ; เชฺยษฺ).
ยา
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทำก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคำว่า เยียวยา; ทำให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
เรียม
หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับผู้ชายพูดกับผู้หญิงที่รัก, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. [ข. (ราชา) เริ่ยม = พี่].
พี่
หมายถึงน. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดก่อน, ผู้ที่มีศักดิ์เสมอพี่; คำนำหน้าชื่อคนที่มีอายุคราวพี่หรือมีศักดิ์เสมอพี่ เช่น พี่นั่น พี่นี่.
กะกัง
หมายถึงน. พี่ชาย. (ช. kakang).
ไม่เอาพี่เอาน้อง
หมายถึงก. ไม่เอื้อเฟื้อจุนเจือญาติพี่น้อง.
รักพี่เสียดายน้อง
หมายถึง(สำ) ก. ลังเลใจ, ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี.
หลาน
หมายถึงน. ลูกของลูก; ลูกของพี่หรือของน้อง.
เทวัน
หมายถึงน. พี่เขย, น้องเขย. (ส.).
เชษฐ,เชษฐ-,เชษฐ-
หมายถึง[เชดถะ-] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺ; ส. เชฺยษฺ). ว. “เจริญที่สุด”. (ส.; ป. เชฏฺ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดา หมายถึง พี่ชาย, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.
ภคินี
หมายถึง[พะ-] น. พี่หญิง, น้องหญิง. (ป., ส.).
ภาตา,ภาตุ
หมายถึงน. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ).