ค้นเจอ 14 รายการ

รูปพรรณ

หมายถึง[รูบปะพัน] น. ลักษณะ, รูปร่างและสี, เช่น รูปพรรณวัว รูปพรรณควาย; เงินทองที่ทำเป็นเครื่องประดับ เช่น เงินรูปพรรณ ทองรูปพรรณ.

ตั๋วรูปพรรณ

หมายถึง(กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ.

รูปพรรณสัณฐาน

หมายถึงน. รูปร่างลักษณะ เช่น เขามีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว.

คชลักษณ์

หมายถึงน. รูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว, ประเภทตำราแสดงรูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้จะให้คุณหรือโทษแก่เจ้าของ.

ประพิมพ์ประพาย

หมายถึงน. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.

กระบือ

หมายถึงน. ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโคกระบือ. (ข. กรฺบี; มลายู เกรฺเบา).

ยกกระเปาะ

หมายถึงก. ยกขอบขึ้นเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก เพื่อใช้ฝังเพชรพลอยในงานโลหะรูปพรรณ.

เงินตาย

หมายถึง(โบ) น. เงินตราที่รัฐให้เลิกใช้, เงินที่มิได้เอามาทำเป็นรูปพรรณ, เงินที่เก็บไว้ไม่นำออกใช้.

สามกษัตริย์

หมายถึงน. รูปพรรณที่ในชิ้นเดียวกันมีทั้งทอง นาก และเงินสลับกัน โบราณถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้สวม เช่น สายสร้อยสามกษัตริย์ กำไลสามกษัตริย์.

นาก

หมายถึงน. โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ. ว. เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก.

ทองคำขาว

หมายถึงน. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของแข็งสีเงินเป็นเงางาม บุให้เป็นแผ่นหรือรีดให้เป็นเส้นลวดได้ ประกอบด้วยทองคำเจือโลหะอื่น เช่น เงิน นิกเกิล สังกะสี แพลเลเดียม เพื่อให้ได้สีเงินคล้ายแพลทินัม มักใช้ทำเครื่องรูปพรรณ. (อ. white gold).

กษัตริย์

หมายถึง[กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ; ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทำด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทำด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ