ค้นเจอ 14 รายการ

จุทสมสุรทิน

หมายถึงน. วันที่ ๑๔ ทางสุริยคติ.

เต

หมายถึง(แบบ) ว. สาม, ใช้เติมหน้าศัพท์สังขยาเป็นเศษจำนวนเต็ม เช่น เตรสมสุรทิน = วันที่ ๑๓, เตรสีดิถี = วัน ๑๓ คํ่า, เตวีสติมสุรทิน = วันที่ ๒๓, เตติงสติมสังวัจฉระ = ปี (แห่งรัชกาล) ที่ ๓๓. (ป.).

ปฐมสุรทิน

หมายถึง[ปะถมมะสุระทิน] น. วันที่ ๑ แห่งเดือนทางสุริยคติ.

ปัณรสมสุรทิน

หมายถึงน. วันที่ ๑๕.

มหาสงกรานต์

หมายถึงน. นักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่อย่างเก่า เริ่มแต่พระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีเมษ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์.

ษัษฐี

หมายถึง[สัดถี] น. วันที่ ๖ หรือ วัน ๖ คํ่า. (ส.; ป. ฉฏฺี).

ฉพีสติม,ฉพีสติม-

หมายถึง[ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่งเดือนสุริยคติ). (ป.).

ทวาทศม,ทวาทศม-

หมายถึง[ทะวาทะสะมะ-] ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศมสุรทิน = วันที่ ๑๒. (ส.; ป. ทฺวาทสม).

วันที่

หมายถึงน. ลำดับวันในเดือนหนึ่ง ๆ ทางสุริยคติ เช่น วันที่ ๑ สิงหาคม วันที่ ๒ กันยายน.

ทศม,ทศม-

หมายถึง[ทะสะมะ-, ทดสะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน = วันที่ ๑๐. (ส.).

ทุติย,ทุติย-

หมายถึง[ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).

นวม,นวม-,นวม-

หมายถึง[นะวะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๙ เช่น นวมสุรทิน = วันที่ ๙. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ