ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ที, เตื้อ, ทวิป, กาหล, ทวิช,ทวิช-, สำนวน, ยมก, ครา, คาบ, สิงหล
หน
หมายถึงน. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
ที
หมายถึงน. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอกจำนวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
เตื้อ
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ครั้ง, หน, เทือ เทื่อ หรือ เทื้อ ก็ว่า.
ทวิป
หมายถึงน. ช้าง. (ส. ทฺวิป ว่า ผู้ดื่ม ๒ หน คือ ด้วยงวงและด้วยปาก).
เทือ,เทื่อ,เทื้อ,เทื้อ
หมายถึงว. ครั้ง, หน, เตื้อ ก็ใช้.
กาหล
หมายถึง[-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
ทวิช,ทวิช-
หมายถึง[ทะวิด, ทะวิชะ-] (แบบ) น. นก; พราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช ว่า ผู้เกิด ๒ หน).
สำนวน
หมายถึงน. ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.
ยมก
หมายถึง[ยะมก] น. คู่, แฝด, ๒ ชั้น; เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ ว่า ไม้ยมก สำหรับอ่านซํ้าความหรือซํ้าคำข้างหน้า ๒ หน. (ป., ส.).
ครา
หมายถึง[คฺรา] น. ครั้ง, คราว, หน.
คาบ
หมายถึงน. ครั้ง, หน, ระยะเวลาเวียนรอบ, ช่วงเวลา. ก. กลั้นใจบริกรรมเวทมนตร์ครั้งหนึ่ง ๆ.
สิงหล
หมายถึง[-หน] น. ชื่อเรียกประเทศศรีลังกาในสมัยโบราณ, สิงหลทวีป ก็เรียก, เรียกชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของศรีลังกาว่า ชาวสิงหล, เรียกภาษาของชาวสิงหลว่า ภาษาสิงหล. (ส. สึหล; ป. สีหล).