ค้นเจอ 12 รายการ

หน้าหนา

หมายถึงว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.

บาง

หมายถึงน. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลำคลอง หรือทะเล; ตำบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้ามกับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็กเอวบาง หรือ เอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลำบากไม่ได้เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.

เดือนเย็น

หมายถึงน. หน้าหนาว.

เย็นเฉียบ

หมายถึงว. เย็นจัด เช่น หน้าหนาวน้ำในลำธารเย็นเฉียบ.

เตาผิง

หมายถึงน. เตาที่ทำด้วยอิฐสำหรับก่อไฟผิงในหน้าหนาว.

ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว

หมายถึง(สำ) ก. ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.

เย็นเยือก

หมายถึงว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอยน้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.

เหมายัน

หมายถึง[เห-] (ดารา) น. จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า เหมายัน (winter solstice), คู่กับ ครีษมายัน, ทักษิณายัน ก็เรียก. (ป., ส. หิม + ส. อายน).

ทักษิณายัน

หมายถึงน. ทางใต้; (ดารา) จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก. (ส.; ป. ทกฺขิณ + ส. อายน).

สั้น

หมายถึงว. ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เสื้อแขนสั้น กระโปรงสั้น ถนนสายนี้สั้นกว่าถนนสายอื่น ๆ, มีระยะเวลานานน้อยกว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น หน้าหนาวกลางวันสั้นกว่ากลางคืน.

กลาย

หมายถึง[กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านชองตนกดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.

สว่าน

หมายถึง[สะหฺว่าน] น. เครื่องมือช่างไม้ปลายเป็นเกลียวแหลมสำหรับเจาะไช มี ๒ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นเหล็กปลายเป็นเกลียวแหลมในตัวสำหรับเจาะไชสิ่งเล็ก ๆ หรือบาง ๆ อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกดาล ๒ อันต่อกัน ปลายด้านบนมีแป้นสำหรับมือกด ตรงกลางมีที่สำหรับมือจับหมุนให้ดอกสว่านซึ่งสวมติดกับปลายอีกด้านหนึ่งเจาะไชสิ่งที่ค่อนข้างใหญ่หน้าหนา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ