ตัวกรองผลการค้นหา
หน้าอินทร์หน้าพรหม
หมายถึงน. ผู้มีอำนาจ, ผู้ยิ่งใหญ่, เช่น เขาไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมใด ๆ ทั้งนั้น.
ลูกฟักหน้าพรหม
หมายถึงน. ไม้กรุในช่องจั่วลูกฟักเรือนทรงไทยเพื่อกันฝนสาด.
หน้าเปิด
หมายถึงน. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.
วันหน้า
หมายถึงน.วันที่จะมาถึงข้างหน้า เช่น วันหน้าจะพบกันใหม่, ใช้ว่า วันหลัง ก็มี.
หน้า
หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
วันหน้าวันหลัง
หมายถึงน. วันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น จะทำอะไรก็เผื่อวันหน้าวันหลังไว้บ้าง.
ให้หน้า
หมายถึงก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
จตุรพักตร์
หมายถึงว. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
จตุรมุข
หมายถึง(กลอน) น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
จัตุรพักตร์
หมายถึงว. จตุรพักตร์, “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
หน้าขมึงทึง,หน้าถมึงทึง
หมายถึงน. หน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว.
หน้าดำหน้าแดง
หมายถึงว. อาการที่ใช้วาจาโต้เถียงกันเพราะมุ่งที่จะเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น แม่ค้าเถียงกันหน้าดำหน้าแดง.