ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สลาก, ก หัน, กะหลุกกะหลิก, ฉลาก, มลาก, ตระการ, หลัก, หลาน, หลาบ, องค
หลาก
หมายถึงว. ต่าง ๆ เช่น หลากสี, แปลก, ประหลาด, เช่น หลากใจ. ก. ไหลมากผิดปรกติโดยกะทันหัน เช่น นํ้าหลาก.
ตระการ
หมายถึง[ตฺระ-] ว. งาม; ประหลาด, แปลก ๆ; หลาก, มีต่าง ๆ.
เขียว ๆ แดง ๆ
หมายถึง(สำ) น. กลุ่มผู้หญิงที่แต่งตัวหลากสี เช่น ไปดูเขียว ๆ แดง ๆ นอกบ้านเสียบ้าง.
จิตรลดา
หมายถึง[จิดตฺระ-] น. เครือเถาชนิดหนึ่ง. (ส. แปลว่า หลากด้วยไม้เถาต่าง ๆ หรือว่าเป็นที่รวมแห่งไม้ทิพย์ชื่อจิตรลดา; ป. จิตฺตลตา).
กาฐ
หมายถึง[กาด] (แบบ) น. ไม้ฟืน เช่น คือโกยกาฐอันกองแลนองธรณิภาค กลาดกล่นถกลหลาก อนันต์. (สรรพสิทธิ์), กาษฐะ ก็ใช้. (ป. กฏฺ; ส. กาษฺ).
จะกรุน,จะกรูน
หมายถึงว. สีดำ, โบราณเขียนเป็น จกรูน ก็มี เช่น ช้างสารชำนิเมามัน หลากหลากหลายพรรณ แลหน้าจกรูนแสงนิล. (อนิรุทธ์).
อัปภาคย์
หมายถึง[อับปะ-] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).
กระรอก
หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor).
ท่วม
หมายถึงก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
เสียบ
หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ เช่น ชนิด Donax faba ในวงศ์ Donacidae เปลือกรูปสามเหลี่ยมสีเหลืองนวล ลายสลับสีเข้มหลากสี เช่น นํ้าตาลเข้ม ฝังตัวอยู่ตามหาดทรายในระดับนํ้าขึ้นนํ้าลง นำมาดองนํ้าปลา.
ไก่ป่า
หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาว อาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว (G. g. gallus) และไก่ป่าติ่งหูแดง (G. g. spadiceus) ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.
กฎ
หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).