ค้นเจอ 84 รายการ

อนุประโยค

หมายถึงน. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.

อนุ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

ประโยค

หมายถึง[ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).

อนุตร,อนุตร-

หมายถึง[อะนุดตะระ-] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).

กริยาวิเศษณานุประโยค

หมายถึง[-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก] (ไว) น. อนุประโยคที่ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.

สังกรประโยค

หมายถึง[สังกะระปฺระโหฺยก, สังกอระปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีประโยคหลักที่มีใจความสำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคเล็กทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก.

มุขยประโยค

หมายถึงน. ชื่อประโยคในตำราไวยากรณ์ได้แก่ ประโยคที่มีประโยคอื่นเป็นส่วนขยาย.

อนุกาชาด

หมายถึง(โบ) น. อนุสมาชิกของสภากาชาด.

อเนกรรถประโยค

หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.

วากยสัมพันธ์

หมายถึงน. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่แยกความออกเป็นประโยค ๆ และบอกความเกี่ยวข้องของคำในประโยค.

อนุภาษ

หมายถึง[-พาด] ก. พรํ่ากล่าว, พรํ่าสอน. (ส.; ป. อนุภาส).

อนุศิษฏ์

หมายถึงก. สั่งสอน, ชี้แจง. (ส.; ป. อนุสิฏฺ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ