ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สระ, บิตุจฉา, ปิตุจฉา, ปิตุลานี, กัณฐชะ, ถั่ว, หัวใจ, พฤทธิ์, rip
อา
หมายถึง(กลอน) ว. คำออกเสียงท้ายคำพูดในความรำพึงหรือวิตกเป็นต้น เช่น แม่อา พี่อา.
หมายถึงน. น้องของพ่อ, (โบ) เขียนเป็น อาว์ ก็มี. (อีสาน อา ว่า น้องสาวของพ่อ, อาว ว่า น้องชายของพ่อ).
อา,อา,อ๋า
หมายถึงน. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยแทง อา เหม็ง ซั้ว กางปีก ๓ ประตู โปออกประตูใดใน ๓ ประตูนั้น เจ้ามือใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกินหมดทั้ง ๓ ประตู.
อาหระ
หมายถึง[-หะระ] น. การนำมา; การถือเอา. (ป., ส.).
อาหตะ
หมายถึงว. ถูกตี, โดนตี. (ป., ส.).
สระ
หมายถึง[สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).
บิตุจฉา
หมายถึง[-ตุดฉา] (แบบ) น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป. ปิตุจฺฉา).
อาปาน,อาปาน-,อาปานะ
หมายถึง[-นะ-] น. การดื่ม, การเลี้ยง. (ป., ส.).
อากัป
หมายถึง[อากับ] น. การแต่งตัวดี. (ป. อากปฺป; ส. อากลฺป).
ปิตุจฉา
หมายถึง[-ตุด-] น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป.).
ปิตุลานี
หมายถึงน. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป.).
กัณฐชะ
หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. (ป.; ส. กณฺวฺย).