ค้นเจอ 368 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา อาหตะ, อายตนะ, อายัต

อายตะ

หมายถึง[-ยะตะ] ว. ยืด, แผ่ออกไป, กว้างขวาง, ยาว. (ป., ส.).

อาย

หมายถึงก. รู้สึกกระดาก, รู้สึกขายหน้า.

อาย

หมายถึงน. กลิ่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ กลิ่น เป็น กลิ่นอาย.

ขวยเขิน

หมายถึงก. กระดากอาย, สะเทิ้นอาย.

หน้าไม่อาย

หมายถึงว. ที่ไม่รู้สึกกระดากหรือขวยใจ.

ตะ

หมายถึงก. ทา, ฉาบ, แตะ, กะไหล่ เช่น ตะทอง ว่า กะไหล่ทอง, ตะทองลาย ว่า กะไหล่ทองเป็นดวง ๆ, หรือ ตะถม เป็นต้น.

หน้าทน

หมายถึงว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.

หน้าด้าน

หมายถึงว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.

หน้าหนา

หมายถึงว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.

ขัดเขิน

หมายถึงก. กระดากอาย.

สะเทิ้น,สะเทิ้นอาย

หมายถึงก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาวพอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.

แก้หน้า

หมายถึงก. ทำให้พ้นอาย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ