ค้นเจอ 20 รายการ

เขิน,เขิน,เขิน ๆ

หมายถึงว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.

เขิน

หมายถึงน. ชื่อคนไทยใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า; เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.

เขิน

หมายถึงว. ตื้นสูงเป็นเนินขึ้นมา (ใช้แก่พื้นที่ในแม่นํ้า ลำคลอง หนอง บึง เป็นต้น), มักใช้ว่า ตื้นเขิน เช่น แม่นํ้าตื้นเขิน; สั้นหรือสูงเกินไปจนดูขัดตา เช่น นุ่งผ้าเขิน.

ดอน

หมายถึงน. ที่สูงซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, ที่ห่างนํ้า, เนิน, โคก, โขด, เขิน; (ถิ่น-อีสาน) เรียกเกาะในแม่นํ้าว่า ดอน; คำประพันธ์โบราณเขียนเป็น ดร ก็มี.

สะเทิ้น,สะเทิ้นอาย

หมายถึงก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาวพอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.

เขิบ

หมายถึง(ถิ่น) ว. ดอน, เขิน.

เก้อเขิน

หมายถึงว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย.

แก้ขวย,แก้เขิน

หมายถึงก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย.

เจี๋ยมเจี้ยม

หมายถึงว. วางหน้าไม่สนิทมีอาการเก้อเขิน.

หน้าเจี๋ยมเจี้ยม

หมายถึงว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน.

ไศล

หมายถึง[สะไหฺล] น. เขาหิน เช่น โขดเขินเนินไศล. (ส. ไศล).

ยิ้มเก้อ,ยิ้มค้าง

หมายถึงก. อาการที่ยิ้มให้เขาแล้วเขาไม่ยิ้มตอบ ทำให้รู้สึกเก้อเขิน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ