ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ขึ้น, ศรัทธา, ไฉไล, แพรวพราย,แพรวพราว, พรายแพรว, ประภัสสร, เลื่อม, พราวแพรว, ขลับ
เลื่อมใส
หมายถึงก. มีความเชื่อถือ เช่น เลื่อมใสศาสนา, มีจิตยินดี, เห็นชอบด้วย, เช่น เลื่อมใสในความรู้ความสามารถ เลื่อมใสในแนวการประพฤติปฏิบัติของเขา.
ขึ้น
หมายถึงก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง; เพิ่มหรือทำให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทำเนียบ; เอ่ยคำหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ, เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทำอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทำให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
ศรัทธา
หมายถึง[สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).
ปสันน,ปสันน-,ปสันนะ
หมายถึง[ปะสันนะ] (แบบ) ก. เลื่อมใส. (ป.).
ปสันนาการ
หมายถึงน. อาการเลื่อมใส. (ป.).
ประสาทการ
หมายถึง[ปฺระสาทะ-] น. การเลื่อมใส.
สัทธินทรีย์
หมายถึงน. ความมีใจเชื่อ, ความเลื่อมใส. (ป.).
สัทธา
หมายถึงน. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส. (ป.; ส. ศฺรทฺธา).
ปาสาทิกะ
หมายถึง(แบบ) ว. นำมาซึ่งความเลื่อมใส; น่ารัก, น่าชม. (ป.).
ประสันนาการ
หมายถึงน. อาการเลื่อมใส. (ป. ปสนฺนาการ).
ประสาท,ประสาท,ประสาท-,ประสาท-
หมายถึง[ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ความเลื่อมใส. (ส.; ป. ปสาท).
ภักดี
หมายถึงน. ความจงรัก, ความเลื่อมใสยิ่ง. (ส. ภกฺติ; ป. ภตฺติ).