ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เสีย, เสียงาน, เสียแต่,เสียที่, เลียแผล, เสียตีน, เสียที, เสียแรง, เสียขวง, ขวง, เสียคน, เสียผี
เสียแผน
หมายถึงก. ผิดไปจากแผนการที่วางไว้ เช่น วางแผนจะไปเที่ยว แต่ฝนตกหนักจนไปไม่ได้ เลยเสียแผนหมด.
แผน
หมายถึงน. สิ่งที่กำหนดถือเป็นแนวดำเนิน เช่น วางแผน, แบบ, ตำรา, เช่น แผนโบราณ แผนปัจจุบัน.
หมายถึง(โบ; กลอน) น. เรียกพระพรหมว่า ขุนแผน เช่น ขุนแผนแรกเอาดินดูที่. (แช่งนํ้า).
เสียแต่,เสียที่
หมายถึงสัน. เสียตรงที่, บกพร่องตรงที่, มีตำหนิตรงที่, เช่น หน้าตาก็สวยดี เสียแต่พูดไม่เพราะ.
เสียได้
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความผิดหวังเป็นต้น เช่น ตั้งใจมาหาเพื่อนทั้งที กลับไม่อยู่เสียได้.
วางแผน
หมายถึงก. กะกำหนดแผนหรือโครงการที่จะดำเนินการต่อไป, วางแผนการ ก็ว่า; ทำท่าทีใหญ่โต เช่น ทำวางแผนเป็นขุนนางชั้นสูง.
ไม่ได้ไม่เสีย
หมายถึงว. เสมอตัว, เท่าทุน.
เสียแล้ว
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความเป็นอดีต เช่น ยังไม่ทันได้พูดคุยกันเลย เขาก็กลับไปเสียแล้ว.
เป็นเสียเอง
หมายถึงก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.
เสีย
หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อให้เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป เช่น กินเสีย มัวไปช้าเสีย.
เสียเช่น
หมายถึง(วรรณ) ว. มีกำเนิดไม่ดี เช่น บ้างก็ดุเดือดด่าขู่เขี้ยวเข็ญ ว่าอีชาติชั่วอีเสียเช่นชาติมันไม่ดี. (ม. ร่ายยาว ชูชก).