ค้นเจอ 9 รายการ

เหนียง

หมายถึง[เหฺนียง] น. เนื้อหรือหนังที่ห้อยอยู่บริเวณคอของสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ นก วัว, โดยปริยายหมายถึงเนื้อที่ห้อยอยู่ตรงลำคอใต้คางของคนแก่ ในความว่า แก่จนเหนียงยาน; สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า.

เข้าเครื่อง

หมายถึงก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสำคัญ ๆ; คำพูดสำหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้าตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียงเข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.

หัสตะ,หัฏฐะ,หัฏฐะ

หมายถึง[หัดสะตะ, หัดถะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็น รูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

หัฏฐะ,หัฏฐะ,หัสตะ

หมายถึง[หัดถะ, หัดสะตะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

ต๊อก

หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิด Numida meleagris ในวงศ์ Numididae ตัวสีเทาลายขาว เหนียงสีแดง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.

สวัสติ,สวาตี

หมายถึง[สะหฺวัดติ, สะวาตี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๕ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปช้างพัง เหนียงผูกคอสุนัข ดวงแก้ว หรือ กระออมนํ้า, ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม ก็เรียก. (ส. สฺวาติ).

ตะเภา

หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิดเดียวกับไก่บ้าน ตัวอ้วนป้อม เหนียงสั้นและกลม มีขนมากทั้งขนแข็งและขนอุยหลายสี มีหางสั้นและแผ่กว้างที่ฐาน เป็นไก่ที่บรรทุกมากับเรือสำเภาหรือเรือตะเภาจากประเทศจีน จึงเรียก ไก่ตะเภา.

วัว

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos taurus ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ ลำตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นวล เขาโค้ง สั้น มีเหนียงห้อยอยู่ใต้คอถึงอก ขนปลายหางเป็นพู่, โค ก็เรียก, (ปาก) งัว.

ขุนทอง

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลืองติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคำ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ