ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา แข่น,แข้น, จตุรภุช, สัญญาณจราจร, พาหุ, โทษา, ภุช,ภุช,ภุช-, ค่าง, จัตุรภุช, สาบ, ภุชา
จตุรภุช
หมายถึง[-พุด] ว. “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์.
สัญญาณจราจร
หมายถึง(กฎ) น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น.
ไม้จำปา
หมายถึงน. ลำไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วใส่กะลาลงไปเพื่อให้ปลายบาน, ใช้สอยผลไม้, ถ้าเอามะพร้าวลูกเล็ก ๆ ใส่ลงไปแล้วมีชิ้นไม้ขัดทแยงสกัดลูกมะพร้าวไว้ใช้สำหรับขุดดินจากหลุมที่ขุดไว้ลึกประมาณ ๑ แขน.
รยางค์
หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนหลักของอวัยวะของสิ่งมีชีวิต เช่น หนวดของแมลง ครีบปลา แขน ขา. (อ. appendage).
ปัญจสาขา
หมายถึงน. กิ่งทั้ง ๕ คือ หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒ ของลูกที่อยู่ในท้อง. (ป.).
แขน
หมายถึงน. อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง ๒ ข้าง, (ราชา) เรียกอวัยวะตั้งแต่ศอกไปถึงไหล่ว่า พระพาหา ตั้งแต่ศอกไปถึงมือว่า พระกร; เรียกสิ่งที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปแขน เช่น แขนเสื้อ ไม้เท้าแขน.
หมายถึงน. เรียกสายเสื้อชั้นในของผู้หญิง.
โทษา
หมายถึงน. แขน. (ส.).
ภุช,ภุช,ภุช-
หมายถึง[พุด, พุชะ-] น. แขน; งวงช้าง. (ป., ส.).
ค่าง
หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดำ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดำ (Presbytis melalophos) ค่างแว่นถิ่นใต้ (P. obscura) ค่างหงอก หรือ ค่างเทา (P. cristata) และค่างแว่นถิ่นเหนือ (P. phayrei).
จัตุรภุช
หมายถึงว. จตุรภุช, “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์.
พาหุ
หมายถึงน. แขน. (ป., ส.).