ค้นเจอ 15 รายการ

แย้ง

หมายถึงก. ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน เช่น ความเห็นแย้งกัน ข้อความแย้งกัน; ต้านไว้, ทานไว้.

โต้แย้ง

หมายถึงก. แสดงความเห็นแย้งกัน.

ติงทุเลา

หมายถึง(โบ) ก. ขัดข้อง, แย้งขอให้ระงับไว้ก่อน.

ขัดคอ

หมายถึงก. พูดแย้งขวางเข้ามา, ไม่ให้ทำได้โดยสะดวก.

วิภาษ

หมายถึงก. พูดแตกต่าง, พูดแย้ง. (ส. วิ + ภาษฺ).

ค้าน

หมายถึงก. แย้งกัน เช่น ข้อความตอนหน้ากับตอนหลังค้านกัน, กล่าวแย้งไม่เห็นด้วย; (โบ; กลอน) หัก, พัง, ทำลาย, เช่น เครื่องบนกระบาลผุค้าน. (คำฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ. (ยวนพ่าย). ว. ที่ไม่เห็นด้วย, ที่ตรงกันข้าม, เช่น ฝ่ายค้าน.

เถียง

หมายถึงก. พูดโต้, พูดแย้ง, พูดโต้แย้ง; ขัดกัน เช่น เรื่องนี้ความตอนต้นกับตอนปลายเถียงกัน.

คำฟ้องแย้ง

หมายถึง(กฎ) น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.

ขัด

หมายถึงก. ให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก เช่น ขัดกระดุม ขัดกลอน; เหน็บ เช่น ขัดกระบี่; ไม่ทำตาม, ฝ่าฝืน, ขืนไว้, เช่น ขัดคำสั่ง; แย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน.

พยติเรก

หมายถึง[พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยคใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).

เกียง

หมายถึงก. เกี่ยง, รังเกียจ, ไม่ลงรอย, เกี่ยงแย่ง, เกี่ยงแย้ง, เช่น คนใดอันรังร้าย จิตรพิศเกียงกล. (จารึกวัดโพธิ์), โดยมากใช้เป็น เกี่ยง.

ศาลรัฐธรรมนูญ

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น การพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ