ค้นเจอ 37 รายการ

ไวยากรณ์

หมายถึงน. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคำและระเบียบในการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตำราไวยากรณ์).

เวทางค์,เวทางคศาสตร์

หมายถึงน. วิชาประกอบการศึกษาพระเวทมี ๖ อย่าง คือ <1t>๑. ศึกษาวิธีออกเสียงคำในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยากรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. โชยติส คือ ดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ คือ กำเนิดของคำ และ ๖. กัลปะ คือ วิธีจัดทำพิธี. (ส.).

ประโยคประธาน

หมายถึง[-โหฺยก-] น. หลักไวยากรณ์, หลัก.

วจีวิภาค

หมายถึงน. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยคำและหน้าที่ของคำ.

ปริกัลปมาลา

หมายถึงน. ระเบียบกริยาในไวยากรณ์ที่บอกความคาดหมาย ความกำหนด. (ส.).

มุขยประโยค

หมายถึงน. ชื่อประโยคในตำราไวยากรณ์ได้แก่ ประโยคที่มีประโยคอื่นเป็นส่วนขยาย.

สมโพธน์

หมายถึงน. คำร้องเรียก, คำอาลปนะในไวยากรณ์. (ส. ว่า การร้องเรียก, การปราศรัย).

ปฐมบุรุษ

หมายถึง[ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลีหมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.

วากยสัมพันธ์

หมายถึงน. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่แยกความออกเป็นประโยค ๆ และบอกความเกี่ยวข้องของคำในประโยค.

วดี

หมายถึงคำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลักไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว.

อุปโยคบุรพบท

หมายถึง[อุปะโยคะบุบพะบด, -บุระพะบด] น. ในไวยากรณ์หมายถึงคำนำหน้ากรรมการก.

ฉันทลักษณ์

หมายถึง[ฉันทะลัก] น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ