ตัวกรองผลการค้นหา
ดุลยพินิจ
หมายถึงน. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลพินิจ ก็ใช้.
ถึงแก่อนิจกรรม
หมายถึงก. ตาย (ใช้แก่พระยาพานทองหรือเทียบเท่า).
นิจ,นิจ,นิจ-
หมายถึง[นิด, นิดจะ-] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิจ. (ป. นิจฺจ; ส. นิตฺย).
วินิจ
หมายถึงก. ตรวจตรา, พิจารณา.
อนิจกรรม
หมายถึงน. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
ดุลพินิจ
หมายถึง[ดุนละ-] น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลยพินิจ ก็ใช้.
นิจศีล
หมายถึง[นิดจะสีน] น. ศีลที่ควรรักษาเป็นนิจ ได้แก่ ศีล ๕. ว. เป็นปรกติเสมอไป, มักใช้ว่า เป็นนิจศีล. (ป. นิจฺจสีล).
ปลงอนิจจัง
หมายถึงก. รู้สึกสังเวชใจว่าไม่น่าจะเป็นถึงเช่นนั้น.
นิจ
หมายถึงว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).
พินิจ
หมายถึงก. พิจารณา, ตรวจตรา, เช่น เพ่งพินิจ.
วินิจฉัย
หมายถึงก. ตัดสิน, ชี้ขาด, เช่น เรื่องนี้วินิจฉัยได้ ๒ ทาง; ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, เช่น คณะกรรมการขอเลื่อนเวลาออกไปอีกเพื่อวินิจฉัยปัญหาให้รอบคอบยิ่งขึ้น. (ป.).
อนิจ,อนิจ-
หมายถึง[อะนิด, อะนิดจะ-] ว. ไม่ยั่งยืน, ไม่เที่ยง, ชั่วคราว, ไม่แน่นอน. (ป. อนิจฺจ; ส. อนิตฺย).