ตัวกรองผลการค้นหา
อสงไขย
หมายถึง[อะสงไข] ว. มากจนนับไม่ถ้วน. น. ชื่อมาตรานับจำนวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกำลัง ๒๐. (ป. อสงฺเขยฺย; ส. อสํขฺย).
อัพภันดร,อัพภันตร,อัพภันตร-
หมายถึง[อับพันดอน, -ตะระ-] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัดในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).
สตางค์
หมายถึง[สะตาง] น. เหรียญกระษาปณ์ปลีกย่อย ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท, อักษรย่อว่า สต., โดยปริยายหมายถึงเงินที่ใช้สอย เช่น วันนี้ไม่มีสตางค์ติดตัวมาเลย เขาเป็นคนมีสตางค์; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม; (โบ) มาตราวัดน้ำฝนเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของทศางค์.
ลิตร
หมายถึงน. ชื่อหน่วยมาตราตวงตามวิธีเมตริก เท่ากับ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร เทียบกับอัตราวิธีประเพณีเท่ากับ ๑ ทะนานหลวง. (ฝ. litre).
ศอก
หมายถึงน. ส่วนของแขน ตรงข้ามกับข้อพับ, ข้อศอก ก็ว่า; ช่วงของแขนตั้งแต่ปลายสุดของข้อพับไปถึงปลายนิ้วกลาง; มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ ศอก เท่ากับ ๒ คืบ.
เกวียน
หมายถึง[เกฺวียน] น. ยานชนิดหนึ่ง มีล้อ ๒ ล้อ ใช้ควายหรือวัวเทียม, ลักษณนามว่า เล่ม; ชื่อมาตราตวง ๘๐ สัด หรือ ๑๐๐ ถัง เป็น ๑ เกวียน.
เหลี่ยมลูกบาศก์
หมายถึง(โบ) น. ชื่อมาตราวัดปริมาตร กำหนดเป็นรูปเหลี่ยมลูกบาศก์ มีด้านสูง กว้าง ยาวเท่ากัน เช่น ๑ เมตรเหลี่ยมลูกบาศก์ คือ มีด้านสูง กว้าง และยาวด้านละ ๑ เมตร.
เซนติเมตร
หมายถึงน. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า ซม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า เซ็นต์. (อ. centimetre).
กิโล,กิโล-
หมายถึงเป็นคำประกอบข้างหน้าหน่วยมาตราเมตริก หมายความว่า พัน เช่น กิโลเมตร กิโลกรัม. (ปาก) น. เครื่องชั่ง เช่น กิโลนี้ไม่เที่ยง; คำเรียกสั้น ๆ ของกิโลกรัมและกิโลเมตร.
กล่ำ
หมายถึง[กฺลํ่า] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กลํ่า คือ อัฐ, ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. (กลํ่า ได้แก่ มะกลํ่าตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกลํ่าตาหนู).
ใจมือ
หมายถึงน. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน; กลางฝ่ามือ.
อะแจ
หมายถึง[โบ] น. ชื่อเมืองในเกาะสุมาตรา, อัดแจ หรือ อะจีน ก็เรียก; เรียกสิ่งที่มาจากเมืองนี้ เช่น ม้าอะแจ นากอะแจ. [ปัจจุบันคือเมืองอะเจะห์ (Ajeh) ในประเทศอินโดนีเซีย].