ค้นเจอ 268 รายการ

อริยสัจ

หมายถึงน. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อธรรมสำคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).

ขัดตา

หมายถึงก. ดูไม่ถูกตา, ดูไม่เหมาะตา, ขัดนัยน์ตา ขัดลูกตา หรือขัดลูกหูลูกตา ก็ว่า.

พาน

หมายถึงว. ทำท่าว่า เช่น พานจะเป็นลม พานจะตาย พานจะโกรธ, พี่ก็พานแก่ชราหูตามัว. (สังข์ทอง).

ดิ่ว

หมายถึงว. แน่ว, ใช้ประกอบคำ ตรง ว่า ตรงดิ่ว เช่น ถนนสายนี้ตรงดิ่วสุดลูกหูลูกตา.

ยิน

หมายถึงก. รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคำอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี.

อุบะ

หมายถึงน. เป็นดอกไม้ที่ร้อยเป็นสายแล้วเข้าพวงอย่างพู่สำหรับห้อยกับมาลัย ห้อยระหว่างเฟื่อง หรือห้อยประดับข้างหูเป็นต้น.

อันตรภาค

หมายถึง[-พาก] (สถิติ) น. ช่วงคะแนนหรือขอบเขตของคะแนนเป็นต้นในขั้นหนึ่ง ๆ ในตารางแจกแจงความถี่ เช่น อันตรภาคของคะแนนตั้งแต่ ๘๖-๑๐๐ เป็นอันดับ ๑.

หมากหอม

หมายถึงน. หมากแห้งที่ป่นเป็นผง ผสมกับเครื่องเทศบางอย่างที่มีกลิ่นหอม ใช้กินควบกับหมากและพลูที่บ้ายปูน หรืออมดับกลิ่นปาก.

สายสูบ

หมายถึงน. สายส่งน้ำทำด้วยวัสดุทนไฟ ปลายสายทั้ง ๒ ข้างมีข้อต่อสำหรับต่อกับถังน้ำบนรถหรือต่อกับหัวประตูน้ำดับเพลิง อีกข้างหนึ่งสวมเข้ากับหัวฉีดน้ำ, ถ้าใช้ในการชลประทาน หรือส่งน้ำให้ประชาชนใช้ เรียกว่า สายสูบส่งน้ำ, ถ้าใช้ในการดับเพลิง เรียกว่า สายสูบส่งน้ำดับเพลิง; สายที่ทำด้วยสารสังเคราะห์ ปลายสายทั้ง ๒ ข้างมีข้อต่อสำหรับต่อกับถังบนรถ อีกข้างหนึ่งจุ่มลงในของเหลวหรือสิ่งปฏิกูลแล้วสูบขึ้นมา.

หนวกหู

หมายถึงก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉันหนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรำคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.

พอ

หมายถึงว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตามต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทำได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง; เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.

หลัว

หมายถึง[หฺลัว] น. ภาชนะสานรูปคล้ายทรงกระบอก ก้นสอบปากผาย มีหูที่ขอบปาก ๒ ข้าง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ