ตัวกรองผลการค้นหา
อติเรกจีวร
หมายถึงน. จีวรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามานอกจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร. (ป., ส.).
โอรส
หมายถึง[-รด] น. ลูกชาย (ใช้แก่เจ้านาย). (ป. โอรส ว่า ผู้เกิดแต่อก).
กลอักษร
หมายถึง[กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกำใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).
กระวน
หมายถึง(กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
กระเอิบ
หมายถึง(กลอน) ก. เอิบ, อิ่ม, เช่น เถ้ากระเอิบเรอสมออกแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
เสลด
หมายถึง[สะเหฺลด] น. เสมหะ, เมือกที่ออกจากลำคอ ทรวงอก และลำไส้. (เทียบ ส. เศฺลษฺม).
ห่มดอง
หมายถึงน. เรียกวิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่าและมีผ้ารัดอก.
ยัก
หมายถึงก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทำให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของบางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้างไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุกยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไปลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่งเรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
เทียมหน้าเทียมตา
หมายถึงว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเทียมหน้าเทียมตากับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
เสมอบ่าเสมอไหล่
หมายถึงว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเสมอบ่าเสมอไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เทียมหน้าเทียมตา ก็ว่า.
ตีโพยตีพาย
หมายถึงก. แกล้งร้องหรือทำโวยวายเกินสมควร, แสดงความเสียอกเสียใจจนเกินเหตุ.
ถอนใจใหญ่
หมายถึงก. หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจหรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น, โบราณใช้ว่า ถอยใจใหญ่ ก็มี.