ตัวกรองผลการค้นหา
วังหลัง
หมายถึงน. วังซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข มักตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระราชวังหลวง.
ศาลาฉทาน
หมายถึง[-ฉ้อทาน] น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไปเป็นการกุศล, ฉทานศาลา ก็เรียก.
นะ
หมายถึงน. ชื่อตัวตั้งธาตุน้ำของเวทมนตร์คาถาทางเมตตามหานิยม เช่น เขาคงมีนะดี ใคร ๆ เห็นก็เมตตา.
นราธิเบศร์
หมายถึงน. พระมหากษัตริย์. (ส. นร + อธิป + อินฺทฺร; ป. นร + อธิป + อิสฺสร).
ทัศนศึกษา
หมายถึงก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วยการดูการเห็น, การศึกษานอกสถานที่.
ตาง
หมายถึง(โบ; กลอน) ส. คำใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น ทุกทั่วสัตวตื่นตาง แตกเต้า. (ตะเลงพ่าย), ต่าง ก็ว่า.
กำไร
หมายถึงน. ผลที่ได้เกินต้นทุน. ว. ยิ่ง, เกิน, เช่น ทรงบำเพ็ญบารมีสี่อสงไขยกำไรแสนมหากัป.
ยาเขียว
หมายถึงน. ยาแก้ไข้ ทำด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม.
ตระหง่อง,ตระหน่อง
หมายถึง[ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
จุ้นจ้าน
หมายถึงก. เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียด, (ปาก) จุ้น.
ปาทาน
หมายถึงน. เรียกแขกเผ่าหนึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอัฟกานิสถาน ว่า แขกปาทาน. (ฮ. ปฐาน).
โรงรับจำนำ
หมายถึงน. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชาสงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวมตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.