ค้นเจอ 206 รายการ

ตี่ใบ้

หมายถึงน. ชื่อการเล่นตี่ชนิดหนึ่งที่ผู้ตี่ไม่ทำเสียง “ตี่” ในเวลาเล่น คือต้องหุบปากตลอดเวลาการหุบปากเท่ากับการออกเสียงตี่ อ้าปากเมื่อใดเท่ากับสิ้นเสียงตี่เมื่อนั้น.

กรรมขัย

หมายถึง[กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตาย แลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).

ทำลาย

หมายถึงก. อาการที่ทำให้สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย, ทำให้พัง เช่น ทำลายกำแพง, ทำให้ฉิบหาย เช่น ทำลายวงศ์ตระกูล, ทำให้หมดสิ้นไป เช่น ทำลายชื่อเสียง ทำลายหลักฐาน. (แผลงมาจากทลาย).

บริโภค

หมายถึง[บอริโพก] ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).

ศูนย,ศูนย-,ศูนย์

หมายถึง[สูนยะ-, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ).

มิด

หมายถึงว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.

กษัย,กษัย-

หมายถึง[กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).

ล้าง

หมายถึงก. ทำให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชำระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงครามล้างชาติ.

ศรัทธา

หมายถึง[สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).

ค่ำ

หมายถึงน. เรียกวันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า, เวลามืดตอนต้นของกลางคืน. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่เย็นจนถึงเวลามืดตอนต้นของกลางคืน เช่น รอบค่ำ. ก. สิ้นแสงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินแล้ว เช่น จวนจะค่ำแล้ว.

เสี้ยน

หมายถึงน. เนื้อไม้ที่แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ ปลายแหลมอย่างหนาม, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น หน่อไม้แก่มีเนื้อเป็นเสี้ยน; ข้าศึก เช่น สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน. (นิ. นรินทร์), เหือดเสี้ยนศึกสยาม สิ้นนาฯ. (ตะเลงพ่าย).

วับ

หมายถึงว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่างซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วในทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคำก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคำซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ