ตัวกรองผลการค้นหา
คำเทียบ
หมายถึงน. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่ กง.
นวก,นวก-,นวก-
หมายถึง[นะวะกะ-] น. หมวด ๙ หมายความว่า วัตถุอันมีจำนวน ๙ ทุกอย่าง เช่น รัตนะ ๙ คำสอนของพระศาสดา ๙ พุทธคุณ ๙ เอามารวมไว้ในหมวดนั้น เรียกว่า นวก เช่น นวกนิบาต. (ป.).
ทรมาน
หมายถึง[ทอระมาน] ก. ทำให้ลำบาก, ทำทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทำให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้นด้วยคำนี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).
บอก
หมายถึงก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนำ เช่น บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
อนุ
หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
ตรีปิฎก
หมายถึงน. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่งเรียกว่า ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์, ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).
ทวย
หมายถึงน. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสำหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขันใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จากเบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
บุญ,บุญ-
หมายถึง[บุน, บุนยะ-] น. การกระทำดีตามหลักคำสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ; ส. ปุณฺย).
สัปทน
หมายถึง[สับปะทน] น. (โบ) ร่มทำด้วยผ้ามีระบายรอบ คันยาว เป็นเครื่องแสดงยศขุนนางโบราณชั้นสูงกว่าพระยา; ร่มขนาดใหญ่ทำด้วยผ้าหรือแพรสีต่าง ๆ มีระบายรอบ มีด้ามยาว ใช้กั้นนาค ผ้าไตร หรือพระพุทธรูป เป็นต้น.
อักษรเลข
หมายถึง[อักสอระเลก, อักสอนเลก] น. วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ; ตำแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่โบราณ, ต่อมาใช้เรียกผู้ทำหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.
กระทง
หมายถึงว. ใช้ควบกับคำ รุ่น ว่า รุ่นกระทง, เรียกไก่อ่อนอายุประมาณ ๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สำหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอนขันว่า ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกำลังแตกเนื้อหนุ่มเป็นเชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง.
กระพอก
หมายถึงน. กล่องสานมีฝาครอบสำหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสำหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).