ค้นเจอ 364 รายการ

รัต

หมายถึงก. ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า. (ป., ส. รต).

อัมพาต

หมายถึง[อำมะพาด] น. อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาตายไปกระดิกไม่ได้. (ส. อมฺ + วาต = โรคลม).

ดรรชนี

หมายถึง[ดัดชะนี] น. นิ้วชี้, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดรรชนี, ดัชนี ก็ใช้. (ส. ตรฺชนี; ป. ตชฺชนี).

ขี้เทือก

หมายถึงน. ที่ดินที่ไถและคราดเป็นต้นแล้วทำให้เป็นโคลนเป็นตมเพื่อตกกล้า เช่น ทำขี้เทือกตกกล้า, เทือก ก็ว่า.

สมาบัติ

หมายถึง[สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิตเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการเข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).

โกร่งกร่าง

หมายถึง[โกฺร่งกฺร่าง] ว. โครมคราม เช่น นางอมิตดาก็โกรธโกร่งกร่างกระทืบเท้า. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

อมฤต,อมฤต-

หมายถึง[อะมะริด, -รึด, -ริดตะ-, -รึดตะ-] น. นํ้าทิพย์ เรียกว่า นํ้าอมฤต; เครื่องทิพย์. (ส.; ป. อมต).

กรม

หมายถึง[กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น กรมหนอง. [ข. กฺรุ :ํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุ ํจิต = ลำบากใจ], ตรม ก็ว่า.

ตัณหักษัย

หมายถึง(แบบ) ว. ผู้สิ้นตัณหา เช่น แด่ท้าวผู้ตัณหักษัย. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ตณฺหา + ส. กฺษย).

อำมฤต

หมายถึง[-มะริด, -มะรึด] น. น้ำทิพย์ เรียกว่า น้ำอำมฤต; เครื่องทิพย์; แผลงมาจาก อมฤต. (ส. อมฺฤต; ป. อมต).

กฤด,กฤด-

หมายถึง[กฺริดะ-] (แบบ) ว. อันกระทำแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. (ส. กฺฤต; ป. กต).

ทวารบถ

หมายถึง[ทะวาระบด] น. ทางเข้าออก เช่น อันกำแพงเชิงเทินป้อมปราการที่ล้อมกรุง รวมทั้งทวารบถทางเข้านครเล่า. (กามนิต).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ