ตัวกรองผลการค้นหา
ตีโพยตีพาย
หมายถึงก. แกล้งร้องหรือทำโวยวายเกินสมควร, แสดงความเสียอกเสียใจจนเกินเหตุ.
ปั้นสีหน้า
หมายถึงก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ.
รังแก
หมายถึงก. แกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น (มักใช้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า) เช่น ผู้ใหญ่รังแกเด็ก.
โกมล
หมายถึงว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก- มลกามแกล้งผจง. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
เกเร
หมายถึงว. เกกมะเหรก, มีนิสัยเป็นพาล ชอบแกล้งชอบรังแกและเอาเปรียบเขา, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาล เป็น พาลเกเร.
อู้
หมายถึงก. ถ่วง, แกล้งทำให้เสร็จช้าลง, เช่น อู้งาน, รอเวลาไว้เพื่อหวังเอาประโยชน์ ในความว่า อู้ไว้กินบ้อ (ในการเล่นบ้อหุ้น).
เกราะ
หมายถึง[เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).
เกลาะ
หมายถึง[เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ก้าวเฉียง
หมายถึงก. เดินเป็นฟันปลา (ใช้แก่การแล่นเรือ); โดยปริยายใช้แก่การพูดไม่ตรงหรือพูดเลี่ยง เช่น นงลักษณ์แกล้งกล่าวก้าวเฉียง. (อิเหนา).
อาสัญ
หมายถึง(แบบ) น. ความตาย. (วรรณ) ก. ตาย เช่น โทษลูกนี้ผิดเป็นนักหนา ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ. (สังข์ทอง). (ป. อสญฺ ว่า ไม่มีสัญญา).
กางเกียง
หมายถึงก. ไม่ลงรูป, ไม่ลงรอย, ไม่ลงที่, สวมกันไม่เข้า, ใช้ว่า กางเกี่ยง ก็มี เช่น เมื่อนั้น พระคาวีเห็นนางยังกางเกี่ยง ยิ้มพลางทางลงไปจากเตียง แล้วกล่าวเกลี้ยงแกล้งปลอบให้ชอบใจ. (คาวี), กังเกียง หรือ กำเกียง ก็ว่า.
ประชด
หมายถึงก. แกล้งทำให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.