ค้นเจอ 66 รายการ

กรรมการก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.

เปรียญ

หมายถึง[ปะเรียน] น. ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป.

มหา

หมายถึงน. สมณศักดิ์ที่ใช้นำหน้าชื่อภิกษุผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป.

แยแส

หมายถึงก. เอาเป็นธุระ, เกี่ยวข้อง, สนใจ, เอาใจใส่, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เขาไม่แยแสว่าใครจะคิดอย่างไร.

อัฒภาค

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ; สำหรับคั่นคำหรือประโยค. (ป. อฑฺฒภาค).

อ้า

หมายถึงว. คำออกเสียงขึ้นต้นประโยคในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึงหรือพรรณนาวิงวอนอย่างเดียวกับคำ โอ้ หรือ โอ้ว่า.

ข้องแวะ

หมายถึงก. ติดต่อ, เอาใจใส่, เกี่ยวพัน, เกี่ยวข้อง, มักใช้ในประโยคที่มีความหมายเป็นเชิงถามหรือปฏิเสธ.

หรือ

หมายถึงสัน. คำบอกความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาเงินหรือทอง; คำประกอบกับประโยคคำถาม เช่น ไปหรือ.

อย่างไร

หมายถึงว. ใช้ในประโยคคำถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือความเห็นเป็นต้น เช่น จะทำอย่างไร มีความเห็นอย่างไร; ถ้าใช้ในประโยคที่ไม่เป็นคำถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา.

ที่จริง

หมายถึงว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คำขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.

แท้ที่จริง

หมายถึงว. คำขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร มีความหมายอย่างเดียวกับ ที่จริง อันที่จริง ตามที่จริง.

หยุดหย่อน

หมายถึงว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน คือ ทำงานไม่เว้นระยะ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ