ค้นเจอ 159 รายการ

ทวาย

หมายถึง[ทะ-] น. ชื่อยำชนิดหนึ่ง มีผักลวก เช่น ผักบุ้ง กะหลํ่าปลี ถั่วงอก ราดด้วยหัวกะทิ นํ้าพริกรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว เรียกว่า ยำทวาย.

มัสมั่น

หมายถึง[มัดสะหฺมั่น] น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง นํ้าแกงข้น เป็นแกงอย่างมุสลิม ใช้เนื้อหรือไก่เป็นต้นชิ้นโต ๆ ปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสเค็ม หวาน และออกเปรี้ยวเล็กน้อย.

รส

หมายถึงน. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).

ลิ้นจี่

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Litchi chinensis Sonn. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกลม สีแดง รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น กะเทยนางหมั่น โอเฮียะ กิมเจ็ง, สีละมัน ก็เรียก. (จ. ลีจี). ว. สีแดงเข้มคล้ายเปลือกลิ้นจี่ เรียกว่า สีลิ้นจี่. (จ. อินจี).

สับปะรด

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ananas comosus Merr. ในวงศ์ Bromeliaceae ไม่มีลำต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาวให้ใยใช้ทำสิ่งทอ ขอบใบมีหนาม ผลมีตาโดยรอบ กินได้ รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ; เรียกใยของพรรณไม้บางชนิดที่มีลักษณะอย่างใยสับปะรด ใช้ทำหมวกเป็นต้นว่า ไหมสับปะรด.

หลน

หมายถึง[หฺลน] ก. เคี่ยวของบางอย่างเช่นปลาร้าปลาเจ่าให้ละลายและงวดข้น เพื่อปรุงเป็นอาหาร. น. อาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยกะทิ หัวหอม หมูหรือกุ้งสับ เคี่ยวรวมกันแล้วใส่ปลาร้าหรือเต้าเจี้ยวแห้งเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกชื่อตามนั้น ปรุงรสให้เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ปลาร้าหลน เต้าเจี้ยวหลน เต้าหู้ยี้หลน ปลากุเลาหลน รับประทานกับผักสด.

เฌอเอม

หมายถึงไม้หวาน

เสียงหวาน

หมายถึงน. น้ำเสียงไพเราะนุ่มนวลน่าฟัง.

หวานเย็น

หมายถึงน. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิเป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. (ปาก) ว. ที่แล่นไปช้า ๆ อย่างไม่รีบร้อน (มักใช้แก่รถไฟ รถประจำทาง) เช่น รถไฟขบวนหวานเย็น.

หวานนอกขมใน

หมายถึง(สำ) ก. พูด ทำ หรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอก แต่ในใจกลับตรงข้าม.

เสียงอ่อนเสียงหวาน

หมายถึงน. น้ำเสียงที่ไพเราะน่าฟัง, น้ำเสียงที่แสร้งดัดให้เบา ช้าลง และไพเราะน่าฟัง เพื่อประจบเป็นต้น.

หวานลิ้นกินตาย

หมายถึง(สำ) ก. หลงเชื่อคำพูดเพราะ ๆ หรือคำสรรเสริญเยินยอ จะได้รับความลำบากในภายหลัง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ