ตัวกรองผลการค้นหา
เจ้ากี้เจ้าการ
หมายถึงน. ผู้ที่ชอบเข้าไปวุ่นในธุระของคนอื่นซึ่งมิใช่หน้าที่ของตนจนน่ารำคาญ.
เจ้าหน้า,เจ้าหน้าเจ้าตา
หมายถึงน. ผู้ชอบทำเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไปทำธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง.
ไว้เนื้อเชื่อใจ
หมายถึงว. ที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขาเถอะ เขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อเชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ.
ท่าว,ทะท่าว
หมายถึง(กลอน) ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบลง; เดิน; ทอดทิ้ง เช่น ท่าวจักทอดธุระ กะว่าฝันเป็นแน่. (นิทราชาคริต).
ทอดหุ่ย
หมายถึง(ปาก) ว. อาการที่ไม่เอาธุระปล่อยให้เป็นไปตามเรื่องตามราว, อาการที่ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, มักใช้ประกอบคำนอน ว่า นอนทอดหุ่ย.
ท่องสื่อ
หมายถึงน. ตำแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
โยคาพจร,โยคาวจร
หมายถึง[โยคาพะจอน, -วะจอน] น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). (ป.).
สำนัก
หมายถึงน. ที่อยู่อาศัย เช่น อยู่สำนักวัดมหาธาตุ, ที่ทำการ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี; แหล่งศึกษาอบรม เช่น สำนักวิปัสสนาวัดปากน้ำ สำนักทิศาปาโมกข์. ก. อยู่ เช่น เวลานี้สำนักที่ไหน. (โบ เขียนเป็น สำนักนิ).
กรรมฐาน
หมายถึง[กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺาน).
เสียฤกษ์
หมายถึงก. ทำไม่ได้ในระหว่างเวลามงคลที่กำหนดไว้ (ใช้ในทางโหราศาสตร์) เช่น เจ้าสาวเป็นลมหมดสติในระหว่างพิธีรดน้ำสังข์ เลยทำให้เสียฤกษ์; ไม่ทันเวลาที่นัดหมาย เช่น นัดกันจะไปธุระแต่เขามาไม่ทัน เสียฤกษ์หมด.
ทะลึ่ง
หมายถึงก. ถีบตัวพรวดขึ้นมา เช่น ทะลึ่งขึ้นจากนํ้า, เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วผิดหูผิดตา เช่น ต้นไม้ทะลึ่งขึ้น; แสดงกิริยาหรือวาจาอันไม่สมควรในเรื่องที่มิใช่ธุระของตัวหรือในเวลาที่เขาไม่ต้องการ, แสดงกิริยาหรือวาจาอาจเอื้อม ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง.
โรงรับจำนำ
หมายถึงน. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชาสงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวมตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.