ค้นเจอ 259 รายการ

กรรกฎ

หมายถึง[กันกด] (แบบ) น. ปู เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฎกูรม์. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).

กรรชิง

หมายถึง[กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่นรับช้างเผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้ายร่ม, โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้าแดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกำมะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและนํ้าเงินสลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.

กรรซ้นน

หมายถึง[กันซั้น] (โบ) ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน. (ม. คำหลวง กุมาร).

กรรไตร

หมายถึง[กันไตฺร] น. ตะไกร. (ข. กนฺไตฺร; ส. กรฺตริ).

กรรมกร

หมายถึง[กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).

กรรมกรณ์

หมายถึง[กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).

กรรมขัย

หมายถึง[กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตาย แลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).

กรรมเวร

หมายถึง[กำเวน] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.

กรรมสิทธิ์

หมายถึง[กำมะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).

กรรมสิทธิ์รวม

หมายถึง(กฎ) น. กรรมสิทธิ์ของบุคคลหลายคนร่วมกันในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง.

กรรมาร

หมายถึง[กำมาน] (แบบ) น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร; ป. กมฺมาร).

กสิกรรม

หมายถึงน. การทำไร่ไถนา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ