ตัวกรองผลการค้นหา
ลูกปลา
หมายถึงน. กระดาษที่ทำเป็นชิ้นกลม ๆ เล็ก ๆ ปิดตามตัวว่าวเพื่อตรึงด้ายสักให้ติดกับกระดาษ.
อก
หมายถึงน. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียกเลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
สักว่าว
หมายถึงก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็นตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น.
กินหน้า,กินหลัง,กินหาง
หมายถึงว. ลักษณาการของว่าวที่สายซุงบนสั้น เรียกว่า กินหน้า, ที่สายซุงบนยาว เรียกว่า กินหลัง, ที่เสียหางตัวเอง เรียกว่า กินหาง.
โถ
หมายถึงน. ภาชนะโดยมากทำด้วยดินเผาหรือกระเบื้องเคลือบปากกว้าง มีฝาปิด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โกศโถ.
เตาทุเรียง
หมายถึงน. ชื่อเตาชนิดหนึ่ง สำหรับเผาเครื่องถ้วยชามและเครื่องกระเบื้องต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยสมัยโบราณ.
ตรมวล
หมายถึง[ตฺรม-วน] (โบ) น. ตำบล เช่น เขาแก้วว่าวงกาจล ตรมวลใดท้าวธบอก. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
ตี
หมายถึงก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป เช่น ตีเด็ก ตีดาบ, ตบเบา ๆ เช่น นอนตีพุง; บุให้เข้ารูป เช่น ตีขัน ตีบาตร; แผ่ให้แบน เช่น ตีทอง; ทำให้เกิดเสียง เช่น ตีระฆัง; กด, ประทับ, เช่น ตีพิมพ์ ตีตรา; ทำให้เข้ากัน เช่น ตีเกลียวเชือก ตีไข่; กำหนด เช่น ตีราคา; ทิ้งให้เห็น เช่น ตีไพ่; ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖, แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง.
กระดาษว่าว
หมายถึงน. กระดาษที่ใช้ทำว่าว เป็นกระดาษที่เหนียวและไม่โปร่ง ลมรั่วไม่ได้ เดิมใช้กระดาษที่สั่งมาจากเมืองจีน ต่อมาใช้กระดาษจากญี่ปุ่น.
ข้าวเกรียบ
หมายถึงน. ของกินทำด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียว เป็นแผ่นตากให้แห้ง แล้วปิ้งหรือทอด มีหลายชนิด เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบกุ้ง.
ถีบ
หมายถึงก. งอเข่าแล้วใช้ฝ่าเท้ากระแทกออกไป, งอเข่าแล้วใช้ฝ่าเท้าดันไปโดยแรง เช่น ถีบรถ ถีบจักร; ดัน เช่น ว่าวถีบสูง.
กระเบื้องเกล็ดเต่า
หมายถึงน. กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์วิหารเป็นต้น.