ตัวกรองผลการค้นหา
หลอกหลอน
หมายถึงก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอกหลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมาคอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
ตระง่อง
หมายถึง[ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.
วันแล้ววันเล่า
หมายถึงว. เป็นเช่นนั้นติดต่อกันยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ทำงานวันแล้ววันเล่าไม่รู้จักเสร็จ คอยวันแล้ววันเล่าก็ไม่มาสักที.
เสือป่าแมวเซา,เสือป่าแมวมอง
หมายถึง(เลิก) น. กองทหารโบราณ มีหน้าที่สอดแนมและซุ่มคอยดักตีข้าศึกเพื่อตัดเสบียงอาหาร.
ขัดห้าง
หมายถึงก. ทำที่พักบนต้นไม้ในป่าชั่วคราวสำหรับคอยเฝ้าดูเหตุการณ์หรือดักยิงสัตว์เป็นต้น.
เคี้ย
หมายถึง(ถิ่น; กลอน) ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวารทุกแห่งแล. (ม. คำหลวง ทศพร).
ปลอกคอ
หมายถึงน. สายรัดรอบคอ (มักใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงผู้มีอำนาจที่คอยให้ความคุ้มครองหรือช่วยเหลือ.
แหง
หมายถึง[แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
เดี๋ยว
หมายถึงว. ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ชั่วขณะหนึ่ง, ชั่วครู่หนึ่ง, เช่น คอยเดี๋ยว; อาจจะทำหรืออาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เดี๋ยวไม่ให้เลย เดี๋ยวตกนํ้านะ, ประเดี๋ยว ก็ว่า.
ระไว
หมายถึงก. คอยระวัง เช่น อยู่ระไวต่างองค์ ดำรงรั้งรักษา. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคำ ระวัง เป็น ระวังระไว.
จ้อง
หมายถึงก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทำร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
ตรับ,ตรับฟัง
หมายถึง[ตฺรับ] ก. เอาใจใส่คอยฟังข่าวคราวทุกข์สุขหรือความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สดับ เป็น สดับตรับฟัง.