ตัวกรองผลการค้นหา
ตรีฉินทลามกา
หมายถึง[-ฉินทะลามะกา] น. ของแก้ลามกให้ขาดไป ๓ อย่าง คือ โกฐนํ้าเต้า สมอไทย รงทอง.
ตรีเพชรสมคุณ
หมายถึง[-เพ็ดสะมะคุน] น. คุณเสมอเพชร ๓ อย่าง คือ ว่านหางจระเข้ ฝักราชพฤกษ์ รงทอง.
ตรีสันนิบาตผล
หมายถึงน. ผลแก้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา รากพริกไทย.
ตรีสุรผล
หมายถึงน. ยามีผลกล้า ๓ อย่าง คือ สมุลแว้ง เนื้อไม้ เทพทาโร.
บารมี
หมายถึง[-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบำเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
เปรียง
หมายถึง[เปฺรียง] น. นมส้มผสมนํ้าแล้วเจียวให้แตกมัน จัดเป็นโครสอย่างหนึ่งในจำนวน ๕ อย่าง.
มโนสุจริต
หมายถึง[มะโนสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความไม่พยาบาท ๑ ความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม ๑.
เยี่ยง
หมายถึงน. อย่าง, แบบอย่าง, เช่น จงเอาเยี่ยงกา อย่าถือเป็นเยี่ยงอย่าง. ว. เช่น, ใช้ว่า เยื่อง ก็มี.
สิ่ง
หมายถึงน. ของต่าง ๆ โดยไม่จำกัดว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เช่น คน สัตว์ และพืช เป็นสิ่งมีชีวิต ก้อนหินเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ทองคำเป็นสิ่งมีค่า; ภาวะ, ความมีความเป็น, เช่น สิ่งที่มีคุณค่าในสังคมอย่างหนึ่งคือ ความยุติธรรม, อย่าง, อัน, เช่น ในกระเป๋ามีของกี่สิ่ง.
เหมือน
หมายถึง[เหฺมือน] ว. ดั่ง, เช่น, ดั่งเช่น, อย่าง, เช่น เขาทำได้เหมือนใจฉันเลย.
อ
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
อกุศลกรรมบถ
หมายถึง[อะกุสนละกำมะบด] น. ทางแห่งความชั่ว, ทางบาป, มี ๑๐ อย่าง คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ + ปถ; ป. อกุสลกมฺมปถ).