ตัวกรองผลการค้นหา
ถอดหัวโขน
หมายถึงก. พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์.
จตุรเวท,จตุรเพท
หมายถึง[จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-).
นเรนทรสูร,นเรศ,นเรศวร,นเรศูร
หมายถึง[นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร + สูร, นร + อีศ, นร + อีศฺวร).
กุล,กุล,กุล-
หมายถึง[กุน, กุนละ-, กุละ-] น. ตระกูล, สกุล. (ป., ส.).
กรร
หมายถึง[กัน] (โบ) ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).
ระมาด
หมายถึงน. แรด. (ข. รมาส).
ทรนาว,ทระนาว
หมายถึง[ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).
อังคุตรนิกาย
หมายถึง[-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
กุศโลบาย
หมายถึง[กุสะ-, กุดสะ-] น. อุบายอันแยบคาย. (ส. กุศล + อุปาย).
ประติมากร
หมายถึง[ปฺระติมากอน] น. ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก.
อเนกรรถประโยค
หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.
จตุรมุข
หมายถึง(กลอน) น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.