ตัวกรองผลการค้นหา
คุณสมบัติ
หมายถึง[คุนนะสมบัด, คุนสมบัด] น. คุณงามความดี, คุณลักษณะประจำตัวของบุคคล เช่น คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง.
ภุชสมโภค
หมายถึง[พุชะสมโพก] น. การสวมกอด, การกอดรัด. (ส.).
สัมพล,สมพล
หมายถึง[สำพน, สมพน] น. อาหาร, เสบียง. (ป.; ส. ศมฺพล).
ดีดลูกคิด
หมายถึง(สำ) ก. คำนวณผลได้ผลเสียหรือกำไรขาดทุนอย่างละเอียด; ทำตอบแทนให้สาสม.
สมประดี,สมปฤดี,สมปฤๅดี
หมายถึง[สมปฺระ-, สมปะรึ-, สมปะรือ-] น. ความรู้สึกตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ สติ เป็น สติสมประดี เช่น ไม่ได้สติสมประดี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
แก้เผ็ด
หมายถึงก. ทำตอบแก่ผู้ที่เคยทำความเจ็บปวดให้แก่ตัวไว้เพื่อให้สาสมกัน.
แอ้ม
หมายถึง(ปาก) ก. กิน เช่น แอ้มขนมหรือยัง, ได้สมประสงค์ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้แอ้ม.
เสียงสระ
หมายถึงน. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก.
พฤทธิ์
หมายถึง[พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลีและสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทำสระให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).
หนำใจ
หมายถึงว. สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น กินให้หนำใจ เที่ยวเสียหนำใจ.
ปฏิภาคนิมิต
หมายถึงน. “อารมณ์เทียบเคียง” คือ เมื่อพบเห็นสิ่งใดจนติดตาหลับตาเห็นแล้วอาจนึกทายส่วนหรือแบ่งส่วนแห่งสิ่งนั้นให้สมรูปสมสัณฐาน เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต. (ป. ปฏิภาคนิมิตฺต; ส. ปฺริตภาค + นิมิตฺต).
สัมผัสสระ
หมายถึงน. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น . (เพลงยาวถวายโอวาท), . (นิ. วัดสิงห์).