ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อ, อธรรม, สติปัฏฐาน, ธรรม, ทรง, ธัมมะ
ศาลยุติธรรม
หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมมี ๓ ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา, เดิมเรียกว่า ศาลสถิตยุติธรรม.
สภาพธรรม
หมายถึงน. หลักแห่งความเป็นเอง.
สาราณียธรรม
หมายถึงน. ธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน. (ป. สาราณีย + ส. ธรฺม).
ยุกติธรรม
หมายถึงน. ยุติธรรม.
โลกุตรธรรม
หมายถึง[โลกุดตะระทำ] น. ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก มี ๙ คือ มรรค ๔ (คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค) ผล ๔ (คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล) และนิพพาน ๑. (ส.; ป. โลก + อุตฺตร + ธมฺม).
อารยธรรม
หมายถึงน. ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรมและกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี.
ทายาทโดยธรรม
หมายถึง(กฎ) น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดกของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลำดับที่กฎหมายกำหนดไว้.
ธรรม
หมายถึงน. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
นักธรรม
หมายถึงน. ผู้รู้ธรรม, ผู้สอบความรู้ธรรมได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ มี ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก; ฤษี.
บุรุษธรรม
หมายถึง[บุหฺรุดสะทำ] น. คติสำหรับตัว.
เบญจธรรม
หมายถึงธรรมะ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. เมตตา ๒. ทาน ๓. ความสำรวมในกาม ๔. สัจจะ ๕. สติ คู่กับ เบญจศีล
ผู้แทนโดยชอบธรรม
หมายถึง(กฎ) น. บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการแทนบุคคลผู้ไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลที่จะต้องให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง; บุคคลซึ่งตามกฎหมายเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมบางอย่างซึ่งผู้เยาว์ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำเองโดยลำพัง.