ตัวกรองผลการค้นหา
แนวร่วม
หมายถึงน. ประชาชนที่มีแนวความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุนแก่พวกที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน.
เจือสม
หมายถึงก. มีความสอดคล้องหรือสนับสนุนให้น่าเชื่อ เช่น คำให้การของพยานโจทก์กับพยานจำเลยเจือสมกัน.
คล้องจอง
หมายถึงก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.
ประจักษ์พยาน
หมายถึง(กฎ) น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง.
ฟ้องแย้ง
หมายถึง(กฎ) ก. การที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์. น. คำฟ้องแย้ง.
คำฟ้องแย้ง
หมายถึง(กฎ) น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.
ถามปากคำ
หมายถึง(กฎ) ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การ โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น ถามปากคำพยาน ถามปากคำผู้ต้องหา, (ปาก) สอบปากคำ.
สอบปากคำ
หมายถึงก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคำพยาน สอบปากคำผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคำ.
บน
หมายถึงน. คำ เช่น ให้บนถ้อยคำ. (จินดามณี); คำที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คำให้การที่จดไว้เป็นหลักฐาน, เช่น เอาบนเขาไว้, ให้คาดบนไว้. (สามดวง).
สิทธิการิยะ
หมายถึงคำขึ้นต้นในตำราโบราณ เช่น ตำรายา ตำราหมอดู หรือคาถาเมตตามหานิยม เป็นการอธิษฐานขอให้การกระทำนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ.
พยานบอกเล่า
หมายถึง(กฎ) น. พยานบุคคลซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้เรื่องมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น. (อ. hearsay evidence).
วกวน
หมายถึงก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือวกวนอ่านไม่เข้าใจ.